1. ประโยคความเดียว (Simple Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบด้วยภาคประธาน และกริยาอย่างละตัว ซึ่งถือเป็นประโยคพื้นฐานในการเขียนภาษาอังกฤษ
2. ประโยคความรวม (Compound Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคอย่างน้อย 2 ประโยค2 ประโยคและมีคำเชื่อม (conjunction) ซึ่งมีหน้าที่เชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ทั้ง 2 ประโยคสามารถแยกออกจากกันได้ โดยที่ประโยคยังคงเป็นประโยคทั้ง 2 ที่มีความหมายสมบูรณ์
3. ประโยคความซ้อน (Complex Sentence) คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวหรืออนุประโยคอิสระ (Independent clause) 1 อนุประโยค และอนุประโยคที่ไม่สมบูรณ์ (Dependent clause) อีก 1 อนุประโยค (dependent clause)ไม่สมบูรณ์ไม่มีความหมายที่สมบูรณ์เนื่องจากเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ อนุประโยคอิสระเท่านั้น สามารถตัดออกไปได้โดยที่อนุประโยคอิสระยังคงมีความหมายสมบูรณ์อยู่
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาจบบทที่ 1 แล้วนักศึกษาสามารถ
1. จำแนกส่วนประกอบของประโยคในแต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง
2. วิเคราะห์ได้ว่าประโยคใดเป็นประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยค ความซ้อน โดยสังเกตจากส่วนประกอบของ Dependent clause และ Independent clause
3. สามารถเชื่อมประโยคต่างๆให้เป็นประโยคความรวมได้ โดยใช้คำเชื่อมต่างๆ
4. เพิ่มเติมประโยคสั้นๆ ให้เป็นประโยคความรวมและใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) รวมไปถึงคำเชื่อมต่างๆได้อย่างถูกต้อง
5. สามารถนำส่วนของประโยค Independent Clause และ Dependent Clause ทำให้เป็นประโยคความซ้อนได้
การเขียนภาษาอังกฤษจะเป็นเรื่องง่ายหากเข้าใจโครงสร้างของประโยคและสามารถวิเคราะห์ ได้ว่าประโยคที่กำลังศึกษานั้น เป็นประโยคชนิดใด สำหรับประโยคชนิดใด ในการเขียนภาษาอังกฤษ จะมีประโยคอยู่ 3 แบบ ด้วยกันคือ
1. ประโยคความเดียว (Simple Sentence)
2. ประโยคความรวม (Compound Sentence)
3. ประโยคความซ้อน (Complex Sentence)
1.1 ประโยคความเดียว (Simple Sentence)
ประโยคความเดียวคือ ประโยคที่ประกอบด้วยกลุ่มคำและมีความหมายสมบูรณ์ ประกอบด้วยภาคประธานและ ภาคกริยา หรืออาจจะมีส่วนเติมเต็มประกอบอยู่ในประโยคด้วย โครงสร้างของประโยคความเดียวมีดังต่อไปนี้
ตัวอย่างของประโยคความเดียวในแบบต่างๆ
- The students are happy. = ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม
- Sujin bought the clothes. = ประธาน + กริยา + กรรม
- She is reading. = ภาคประธาน + ภาคแสดง
- Linda opens the store. = ภาคประธาน + กริยา + กรรมตรง
- I like his idea. = ภาคประธาน + กริยา + กรรมตรง
- The company is big and famous. = ภาคประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็มขยาย
ประธาน
- The news made company staffs happy. = ภาคประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็มขยายกรรม
กล่าวโดยสรุปได้ว่า ประโยคความเดียวจะต้องประกอบด้วย 1 ประธาน 1 กริยา นั่นเอง ในส่วนของกรรม ส่วนเติมเต็ม และส่วนขยายอื่นๆนั้นผู้เขียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละโอกาส
1.2 ประโยคความรวม (Compound Sentence)
ประโยคความรวมคือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยคโดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น and, or และอาจคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เพื่อให้เป็นประโยคเดียวกัน โครงสร้างของประโยคจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
คำเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อมประโยคความรวมนั้น ก็มีอยู่หลากหลายคำด้วยกัน ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า and, not only….but also, in addition, besides, in the same way จะใช้ในประโยคที่คล้อยไปในทางเดียวกัน คำว่า but, nor, in contrast, neither nor จะใช้ในการเชื่อมประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกัน คำว่า because และ for instance ใช้ในการเชื่อมประโยคเพื่อบอกเหตุผลหรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม
นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำเชื่อมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น for, or, so, yet, however, therefore, otherwise, consequently เป็นต้น
ตัวอย่างของประโยคความรวม
- The restaurant is big. - The food is not delicious.
= (The restaurant is big, but the food is not delicious.)
- John will write a homepage. - He will advertise his company.
= John will write a homepage, and he will advertise his company.
1.3 ประโยคความซ้อน (Complex sentence)
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่ประกอบด้วยหนึ่งประโยคที่สมบูรณ์ ที่เรียกว่า Independent clause และอนุประโยคที่นำหน้าด้วยคำแทนบุคคล สิ่งของ สถานที่ เวลาหรือการกระทำที่เป็นประธานของประโยคหลักซึ่งเมื่อแยกออกแล้วไม่ได้ความหมายที่สมบูรณ์ เรียกอนุประโยคนี้ว่า dependent clause กล่าวคือ นำหน้าด้วย that, which, who, while, what, when เป็นต้น
ตัวอย่าง ของประโยคความซ้อน
- The company that we like to apply for a job is famous.
= The company is famous. (Indep)
= that we like to apply for a job (Dep)
- The man who asked for your address is my boss.
= The man is my boss. (Indep)
= who asked for your address (Dep)
วันนี้ เรามาดูรูปแบบของประโยคชนิดต่างๆกันนะคะ
1. Simple Sentence ประกอบด้วย Main Clause (M.C) หนึ่ง Clause
- It was raining yesterday evening.
- He lent me some money.
2. Compound Sentence ประกอบด้วย Main Clause ตั้งแต่ 2 Main Clause ขึ้นไป (M.C+M.C) ซึ่งระหว่าง M.C ทั้งสอง จะเชื่อมด้วย Coordinating Conjunction (คำสันธาน) Conjunction หลักๆที่ต้องจำมีดังนี้
for : The dog barked fiercely,for there was a stranger in front of the
house.
and : I walked home and I was tired.
nor : I haven’t done any homework, nor do I intend to do so.
but :Thailand is a beautiful country, but still it has many poor people.
or : He finally read the book , or so I thought.
yet : Everyone wants to take part in the election yet no one wants to learn about democracy.
so : The computer crashed, so I lost all of my work.
มีวิธีการจำ conjunction ของ Compound Sentence ซึ่งเคยมีอาจารย์ฝรั่งสอนไว้ให้จำเรียงกันดังนี้ค่ะ
for and nor but or yet so
ที่ให้เรียงกันแบบนี้ เพราะอักษรตัวหน้า สามารถนำมาเรียงกันเป็น fan boys ค่ะ
อย่างไรก็ตาม ยังมีรูปแบบของประโยคอีก 2 รูปแบบที่แตกต่างออกไป แต่ก็ถือว่า เป็น Compound Sentence เนื่องจากเป็น Main Clause ทั้ง 2 Main Clause
- The small cat was sick, and I had to feed it some milk.
(รูปแบบทั่วไป มีคำเชื่อม and และมี comma หน้าคำเชื่อม)
- The small cat was sick; therefore, I had to feed it some milk.
(รูปแบบที่แตกต่าง คือมีเครื่องหมาย semicolon; ตามด้วย transitional word หรือ คำเชื่อม therefore)
- The small cat was sick;I had to feed it some milk.
(อีกหนึ่งรูปแบบ คือใช้เพียง ; คั่น main clause ทั้งสองที่มีใจความสำคัญเท่ากัน)
เรื่อง Main Clause นี้ไม่ต้องกังวลนะคะ เดี๋ยวจะสรุปวิธีการใช้ให้ภายหลังค่ะ ตอนนี้ ลองสังเกตมันไปเรื่อยๆก่อนแล้วกัน คนช่างสังเกตย่อมได้เปรียบค่ะ
3. Complex Sentence ถือเป็นประโยคที่มีความสลับซับซ้อนที่สุดของภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเรารู้จักส่วนประกอบของมันเป็นส่วนๆมาตั้งแต่ต้น ตามที่ได้เล่าให้ฟังมาแล้ว ก็สามารถทำความเข้าใจกับมันได้ไม่ยากค่ะ การ break Complex Sentence ได้เองเป็นส่วนๆ จะช่วยเราได้อย่างดีมากเรื่องการอ่านอีกด้วย
Complex Sentence ทั่วๆไปจะประกอบด้วย Subordinate Clause ตั้งแต่ 1 Clause ขึ้นไป และ 1 main clause โดยจะมี SC นำหน้า MC หรือ MC นำหน้า SC ก็ได้ มีข้อสังเกตการใช้ punctuation mark สำหรับประโยคชนิดนี้ก็คือ ถ้า SC นำหน้า จะต้องตามด้วย comma ,ยกเว้นแต่บางครั้ง comma อาจจะไม่จำเป็น ถ้า Clause ที่นำหน้ามีเนื้อความสั้นๆจนไม่สับสน ลองดูตัวอย่าง
- When she felt sleepy, she didn’t want to read any books.
ประโยคนี้ใส่ ,
- That I passed the examination didn’t please my mother.
นอกจากนั้น ถ้า SC ใช้ตามหลัง MC ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ , เช่นกัน เว้นแต่ต้องการเน้นความสำคัญหรือความชัดเจน
- Because there were many bombs in Southern Thailand, the people fled away to other regions.
(SC+MC)
- The people fled away to other regions because there were many bombs in Southern Thailand.
(MC+SC)
อยากจะกล่าวถึง Compound-Complex Sentence รวมไว้ใน Complex Sentence นี้เสียเลย เพราะ มันเป็นประโยคที่ถูกเรียงร้อยด้วย Subordinate Clause ตั้งแต่ 1Clause ขึ้นไป และ Main Clause ตั้งแต่ 2 Clauses ขึ้นไป เรียกได้ว่า ถ้าแต่งประโยคได้ด้วย Compound-Complex Sentence ได้หลายประโยค ก็ถือว่า คุณได้เริ่มพัฒนาความสามารถที่จะไปสู่งานเขียนที่ดีได้แล้วค่ะ
- Although my mother calls me every evening when I am in the campus dormitory, I don’t pay much attention to her call, but go out to join my friends every day as they want me to have good times with them.
เป็นไงคะ ลองแยกแยะ หรือ break ประโยคนี้ให้เป็นประโยคย่อยๆตาม Sentence Patterns ดูนะคะ แล้วจะเห็นเองว่า การแต่งประโยคให้ได้ใจความครบถ้วน และสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้พอสมควร ย่อมต้องใช้พื้นฐานความรู้ทาง Grammar เป็นหลักเลยทีเดียว
เมื่อกล่าวถึงเรื่อง Sentence ในภาษาอังกฤษแล้ว ก็อาจจะเป็นที่เข้าใจได้ทันที(สำหรับผู้ที่เคยผ่านหูผ่านตามา) ว่า คำว่า “Sentence” นี้ ก็คือประโยคในภาษาไทยนั่นเอง ประโยคในภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั้น มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ทั้งรูปแบบโครงสร้างประโยค การเรียงประโยค จึงอาจทำให้ผู้ที่เข้าใจภาษาไทย สามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว
ก่อนที่จะได้ทำการจำแนกแบ่งซอย Sentence(ประโยค) ขอนำคำนิยามความหมายที่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมหลายเล่มมาประมวลเอาไว้พอสังเขปดังนี้
“ Sentence is group of words that you put together to tell an idea or ask a question.”
(Oxford Basic English Dictionary,1981:247)
“ Sentence is a word or a group of syntactically related words that states, asks, commands, or exclaims something conventional unit of connected speech or writing, usually containing a subject and a predicate: in writing, a sentence begins with a capital letter and concludes with an end of mark (period, question mark, etc.), and concludes with any various final pitches and a terminal juncture.” (Webster’s New World Dictionary,1988:1223)
“ Sentence is a group of words, which they are written down, begin with a capital letter and end with a full stop, question mark, or exclamation mark. Most of sentence contain a subject and a verb.” ( Collins Cobuild English Dictionary,1995:287)
จากคำนิยามความหมายของ Sentence (ประโยค) ข้างต้นนี้ ทำให้สามารถสรุปได้ว่า
Sentence(ประโยค) หมายถึง กลุ่มคำที่ประกอบด้วยภาคประธาน และภาคขยายประธาน ที่เรียงประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยแสดงข้อความที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
Sentence (ประโยค) โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วย ภาคประธาน (Subject) และภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicate) ตัวอย่างเช่น
I am a monk.
ผมเป็นพระ
ภาคประธาน (Subject) คือ I
ภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicate) คือ am a monk
Mahachulalongkornrajavidyalaya university is the Buddhist university.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา
ภาคประธาน (Subject) คือ Mahachulalongkornrajavidyalaya university
ภาคขยายประธาน หรือภาคแสดง (predicate) คือ is the Buddhist university
ฯลฯ
Sentence (ประโยค) ในภาษาอังกฤษ ท่านได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. Simple Sentence ( ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค)
2. Compound Sentence ( ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค)
3. Complex Sentence ( ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค)
4. Compound – Complex Sentence ( ประโยคความผสม หรือ อเนกัตถสังกรประโยค)
ต่อไปก็จะได้กล่าวถึงความหมายและรายละเอียด กฎเกณฑ์ของ Sentence (ประโยค) แต่ละข้อ
ที่ได้กล่าวมาแล้ว ตามลำดับดังต่อไปนี้
1. Simple Sentence แปลว่า ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค หมายถึง ข้อความที่พูด
ออกไปแล้ว มีใจความเดียว ไม่กำกวม สามารถเข้าใจเป็นอย่างเดียวกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง เป็นประโยคที่มีประธานตัวเดียว และกิริ ยาตัวเดียว
ตัวอย่างเช่น
-Venerable Tawan is my friend.
ท่านตะวันเป็นเพื่อนของผม
- Buddhism is one of the great world religions.
พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในบรรดาศาสนาโลกที่ยิ่งใหญ่
ฯลฯ
หมายเหตุ : พึงสังเกตประโยคแต่ละประโยคข้างต้นเหล่านี้ จะเห็นว่าแต่ละประโยคจะมีประธาน
ตัวเดียว และกิริยาตัวเดียว จึงทำให้สามารถทราบได้ว่าเป็น Simple Sentence (ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค) ตามความหมาย และกฎเกณฑ์ข้างต้น
นอกจากนั้นแล้ว Simple Sentence (ประโยคความเดียว หรือเอกัตถประโยค) ยังสามารถแบ่งเป็น
ประโยคย่อยๆ ได้อีก 6 รูปแบบ ดังนี้คือ
1. ประโยคบอกเล่า ( Affirmative Sentence)
2. ประโยคปฏิเสธ ( Negative Sentence )
3. ประโยคคำถาม ( Interrogative Sentence )
4. ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative Question Sentence)
5. ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence)
6. ประโยคอุทาน (Exclamation Sentence)
ก่อนอื่นก็ขอเริ่มต้นอธิบายเป็นลำดับไปดังนี้
1. ประโยคบอกเล่า ( Affirmative Sentence) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าตามธรรมดา
ไม่อยู่ในรูปคำถาม ปฏิเสธ อุทาน หรือ ขอร้องและบังคับ
ตัวอย่างเช่น
- I am studying at a university in Nakornratchasima province.
ผมกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา
- Wat Isaan is located in Nakornratchasima city.
วัดอิสานตั้งอยู่ในตัวเมืองนครราชสีมา
ฯลฯ
2. ประโยคปฏิเสธ ( Negative Sentence ) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความปฏิเสธ
ตัวอย่างเช่น
- The Pali language is not difficult for monks.
ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่ยากสำหรับพระ
- Thailand is not the largest country in the world.
ประเทศไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ฯลฯ
3. ประโยคคำถาม ( Interrogative Sentence ) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความเป็นคำถาม เพื่อ
ต้องการทราบคำตอบ
ตัวอย่างเช่น
- Are you a monk ?
ท่านเป็นพระหรือ ?
- What is Buddhism?
พระพุทธศาสนาคืออะไร?
ฯลฯ
4. ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative Question Sentence) ได้แก่ประโยคที่มีเนื้อความเชิง
ปฏิเสธ ตัวอย่างเช่น
- Does not she believe in you?
หล่อนไม่เชื่อคุณหรือ?
- Why do not you do that again?
ทำไมคุณถึงไม่ทำมันอีกครั้ง?
5. ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความขอร้องหรือ
บังคับให้กระทำ
ตัวอย่างเช่น
5.1 ประโยคที่มีเนื้อความขอร้อง เช่น
- I beg your pardon.
ผมขอโทษ
- You should follow my words.
ท่านควรทำตามคำพูดของผม
ฯลฯ
5.2 ประโยคที่มีเนื้อความบังคับ เช่น
- Do as my suggestion.
จงทำตามคำแนะนำของผม
- Open the door now.
จงเปิดประตูเดี๋ยวนี้
ฯลฯ
6. ประโยคอุทาน (Exclamation Sentence) ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความเปล่ง
อุทานขึ้น มีทั้ง ตกใจ ปะหลาดใจ เศร้าใจ ดีใจ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น
How nice she is !
หล่อนช่างดูดีจริงๆ !
What the hottest month it is!
มันช่างเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดอะไรเช่นนี้ !
ฯลฯ
2. Compound Sentence แปลว่า ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค หมายถึง ประโยคที่มีข้อความ 2 ข้อความมารวมกัน พูดง่าย ๆ คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยคมารวมกัน แล้วเชื่อมด้วย co-ordinate conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) ได้แก่ and, or, but, so, still, yet, etc. และ conjunctive adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่ however, meanwhile, therefore, otherwise, thus, etc.
2.1 Compound Sentence ( ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค) ที่เชื่อมด้วย co-ordinate conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) ได้แก่ and, or, but, so, still, yet, etc.
ตัวอย่างเช่น
- Venerable Tawan can speak English and he can speak Loa.
ท่านตะวันสามารถพูดภาษาอังกฤษและสามารถพูดภาษาลาวได้
- Phramaha Charoen does not study Loa yet he can speak it.
พระมหาเจริญไม่ได้ศึกษาภาษาลาวถึงกระนั้นเขาก็สามารถพูดภาษาลาวได้
ฯลฯ
2.2 Compound Sentence (ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค) ที่เชื่อมด้วย conjunctive adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม) ได้แก่ however, meanwhile, therefore, otherwise, thus, hence, nevertheless, etc.
ตัวอย่างเช่น
- Venerable Prakorng was ill, thus he went to see a doctor at a hospital.
ท่านประคองป่วยดังนั้นเขาจึงไปหาหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
- Jess comes to see me at a temple, meanwhile I teach her Buddhism.
เจสมาหาผมที่วัดระหว่างนั้นผมก็สอนพระพุทธศาสนาให้เธอด้วย
ฯลฯ
หมายเหตุ : จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Compound Sentence เกิดมาจาก Simple Sentence 2 ประโยคมารวมกัน แล้วคั่นกลางประโยคทั้งสองด้วย co-ordinate conjunction (ตัวเชื่อมประสาน) และ conjunctive adverb (คำวิเศษณ์เชื่อม)
3. Complex Sentence แปลว่า ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค หมายถึง ประโยคที่มี
เนื้อความซับซ้อน ถ้าขาดเนื้อความใดเนื้อความหนึ่งแล้ว ทำให้เนื้อความไม่สมบูรณ์ จะใช้ตัวเชื่อมที่เรียกว่า sub - ordinate conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่ if, before, because, as if, since, etc. และ relative pronoun(สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่ who, what, where, that, which, etc.
3.1 Complex Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) ที่เชื่อมด้วย sub - ordinate conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่ if, before, because, as if, since, etc.
ตัวอย่างเช่น
- Before I go out, I would like to leave my messages.
ก่อนที่ผมไป ผมอยากจะทิ้งข้อความของผมเอาไว้
- Venerable Somporn talks as if he was able to speak English.
ท่านสมพรพูดราวกับว่าเขาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้
3.2 Complex Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) ที่เชื่อมด้วย relative pronoun (สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่ who, what, where, that, which, etc.
ตัวอย่างเช่น
The monk who is standing over there is my friend.
พระผู้ซึ่งกำลังยืนอยู่ที่นั่นคือเพื่อนของผม
The monk whose book was stolen is student.
พระผู้ซึ่งหนังสือของเขาถูกขโมยคือนักเรียนของผม
ฯลฯ
หมายเหตุ : จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า Complex Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค) เชื่อมด้วย sub - ordinate conjunction (คำเชื่อมแฝง) ได้แก่ if, before, because, as if, since, etc. และ relative pronoun (สัมพันธ์สรรพนาม) ได้แก่ who, what, where, that, which, etc. เพื่อทำให้สองประโยคมีความหมายที่สมบูรณ์
4. Compound – Complex Sentence แปลว่า ประโยคความผสม หรือ อเนกัตถสังกรประโยค
หมายถึง ประโยคที่มีเนื้อความหลายเนื้อความมาอยู่รวมกัน โดยไม่จัดเข้าเกณฑ์ตามแบบประโยคที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หรืออาจกล่าวง่ายๆ ว่า ไม่จัดเข้าพวก ทั้งสามประโยคที่กล่าวมาข้างต้น และมีกฎเกณฑ์สลับซับซ้อน
ตัวอย่างเช่น
- Venerable Kitti can not remember whose book it is, so he asks his friend.
ท่านกิตติไม่สามารถจำว่าหนังสือนี้เป็นของใครได้ ดังนั้นเขาจึงถามเพื่อนของเขา
- Venerable Manop does not understand what teacher explains, yet he writes it down in his note book.
ท่านมานพไม่เข้าใจในสิ่งที่ครูกำลังอธิบาย ถึงกระนั้นก็ตามเขาก็ได้จดมันไว้ในสมุดจดบันทึกของเขา
ฯลฯ
หมายเหตุ : จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า compound - complex sentence (ประโยคความผสมหรือสังกรอเนกัตถประโยค) มีประโยคเล็กที่เรียกว่า clause (อนุประโยค) แทรกเขามาท่ามกลาง Compound Sentence (ประโยคความรวมหรืออเนกัตถประโยค)
สรุป
Sentence หมายถึง กลุ่มคำที่ประกอบด้วยภาคประธาน และภาคขยายประธาน ที่เรียงประกอบเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบ โดยแสดงข้อความที่มีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
Sentence (ประโยค) ในภาษาอังกฤษ ท่านได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือhttp://www.blogger.com/img/blank.gif
1. Simple Sentence (ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค) แบ่งออกเป็น6คือ
1.1 ประโยคบอกเล่า (Affirmative Sentence)
1.2 ประโยคปฏิเสธ (Negative Sentence )
1.3 ประโยคคำถาม (Interrogative Sentence)
1.4 ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ (Negative Question Sentence)
1.5 ประโยคข้อร้องหรือบังคับ ( Imperative Sentence)
1.6 ประโยคอุทาน (Exclamation Sentence)
2. Compound Sentence (ประโยคความรวม หรืออเนกัตถประโยค)
3. Complex Sentence (ประโยคความซ้อน หรือสังกรประโยค)
4. Compound – Complex Sentence (ประโยคความผสม หรือ อเนกัตถสังกรประโยค)
เครดิต : http://www.bobaetower.com/webboard/index.php?topic=7525.0
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น