Nouns คำนาม
A nounis a word or word group that represents a person, a place, or a thing. A thing in this definition can be a physical entity or it can be an abstract idea. A noun may be used as a subject of a sentence, as a direct object, as an indirect object, or it may be used as the object of a preposition. Some additional noun applications are addressed below.
คำนาม คือ คำที่ใช้เป็นชื่อเรียกสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สถานที่ สิ่งต่างๆ แนวคิด คุณภาพ หรือกิจกรรมต่างๆ
Noun ในภาษาอังกฤษเมื่อนำมาเขียนหรือพูด
ทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาในประโยคได้
(Subject of a Verb) เช่น
Mary loves her parents very much.
แมรี่รักพ่อแม่ของเธอมากๆ
This boy likes to have dinner at six in the evening.
เด็กคนนี้ชอบทานอาหารค่ำเวลา 6
โมงเย็น
(Mary และ boy เป็นนามมาทำหน้าที่เป็นประธานของกริยา
is, loves และ likes ในประโยค)
ข้อสังเกต : การใช้นามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน
จะวางไว้หน้ากริยาเสมอ
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา
(Object of a Verb) ในประโยคได้ เช่น
Jake loves Anny. เจครักแอนนี่
We respect the teacher.เรานับถือคุณครู
I ate mangoes.ฉันทานมะม่วง
(Anny, teacher, mangoes เป็นนามทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา loves,
respect และ ate ในประโยค)
ข้อสังเกต : นามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา
จะวางไว้หลังกริยาเสมอ
3. ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบท
(Object of a preposition) ในประโยคได้ เช่น
He speaks to his girl-friend every day.
เขาพูดถึงคนรักของเขาทุกวัน
John has waited for Anne long time.
จอห์นได้รอคอยแอนนานานแล้ว
( girl-friend และ Anne เป็นนามมาทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบท
of, to และ for ตามลำดับ)
ข้อสังเกต :
นามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบทใด ให้เรียงไว้หลังบุรพบทตัวนั้น
4.ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยาเพื่อขยายให้ประธานได้ความชัดเจนขึ้น(Subjective
Complement) ได้
ส่วนมากนามที่นำมาใช้มักจะตามหลัง Verb
to be, become เช่น
Anna is a student. Nick becomes a doctor.
แอนนาเป็นนักศึกษา นิคเป็นนายแพทย์
She was a nurse two years ago.
หล่อนเป็นนางพยาบาลเมื่อ 2
ปีก่อน
(student, doctor และ nurse เป็นนาม
นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา is, becomes และ
was ในประโยค)
5. ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายกรรม
เพื่อให้กรรมตัวนั้นมีเนื้อความกระจ่างขึ้น (Objective Complement) หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่า
ทำหน้าที่เป็นทั้งกรรม (Object) และส่วนสมบูรณ์ (Complement) พร้อมกันทีเดียวได้
เช่น
His parents named him Johny.
บิดามารดาของเขาตั้งชื่อว่า จอห์นนี่
Everyone called him a coward.
ทุกๆ คนเรียกเขาว่า คนขี้ขลาด
( Johny และ coward เป็นคำนาม
แต่ในประโยคทั้ง 3 นี้นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นตัวขยายกรรม (Object)
ที่อยู่ข้างหน้ามันคือ him และ
him)
ข้อสังเกต : นามที่ไปทำหน้าที่ขยายกรรมได้
ให้เรียงไว้หลังกรรมนั้นทุกครั้งไป
6.ทำหน้าที่เป็นนามซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้า
(Noun in Apposition) ได้
และระหว่างนามข้างหน้ากับนามที่ไปซ้อน
ตามหลังจะต้องใส่เครื่องหมาย Comma (,) คั่นเอาไว้ทุกครั้ง
และการไปซ้อนนั้นแยกออกเป็น 2 กรณี คือ
- ซ้อนในส่วนที่เป็นประธานของประโยค (noun in subjective apposition) ให้วางไว้หลังประธานตัวนั้น เช่น
Smai, my friend, can' t go to school as usual.
สมัยเพื่อนของฉันไม่สามารถไปเรียนหนังสือได้ตามปกติ
Our country, Thailand, is the land of peace.
ประเทศของเราคือประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งสันติสุข
(friend และ Thailand เป็นคำนามทั้งนั้น
แต่ในที่นี้นำมาใช้ทำหน้าที่ซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้าคือ Smai และ
country)
- ซ้อนในส่วนที่เป็นกรรมของกริยาในประโยค (Noun in Objective apposition) ให้วางไว้หลังกรรมตัวนั้น เช่น
We admire our teacher, Mr. Jackson.
เรายกย่องครูของเรา มร.แจ็คสัน
Do you want to see Samran, the writer of this book?
ท่านต้องการพบสำราญผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ไหม?
(Mr.Jackson และ writer ทั้ง
2 คำเป็นนาม
แต่ในที่นี้นำมาใช้ทำหน้าที่นามซ้อนตัวกรรมที่อยู่ข้างหน้า ได้แก่คำ teacher,
Samran)
7.ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน
(An Address) ในประโยคได้ (บางครั้งเรียกว่า
เป็นนามเรียกชื่อ (Vocative) ก็มี)
เช่น
Chanchai, please close the door.
ชาญชัย กรุณาปิดประตูหน่อยครับ
You are right, Jome.
คุณถูกแล้วละโจม
Teacher, explain it slowly.
ครูครับ อธิบายช้าๆ หน่อย
Is it true, Jim, that he will come tomorrow?
จริงหรือจิม ที่เขาจะมาวันพรุ่งนี้?
(Chanchai, Jome,Teacher และ Jim ทั้งหมดเป็นนาม
แต่ในประโยคเหล่านี้ นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน)
ข้อสังเกต : นามที่ทำหน้าที่เป็นนามเรียกขาน
จะวางไว้ตรงไหนของประโยคก็ได้ ต้น กลาง ท้าย และให้สังเกตการใช้เครื่องหมาย Comma
(,) กับนามที่ทำหน้าที่เรียกขานไว้ด้วยสำหรับการวางแต่ละอย่าง
8.ทำ
หน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Case) ของนามทั่วไปได้
ทั้งนี้โดยอาศัยเครื่องหมาย Apostrophe's ทุกครั้ง
เพื่อเชื่อมความเป็นเจ้าของ เช่น
The teacher's table is standing in front of the class.
โต๊ะของคุณครูตั้งอยู่หน้าชั้น
This is the lady's handbag which is very dear.
นี้คือกระเป๋าถือของสุภาพสตรีซึ่งมีราคาแพงมาก
Do you know my principal's house?
คุณรู้จักบ้านอาจารย์ใหญ่ของผมไหม?
(teacher's, lady's และ principal's เป็นนาม
แต่ในประโยคทั้ง 3
นี้นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นนามแสดงความเป็นเจ้าของของนามที่ตามหลัง)
ข้อสังเกต :
นามที่ทำหน้าที่แสดงความเป็นเจ้าของของนามใด ให้วางไว้หน้านามตัวนั้นทุกครั้งไป
9.ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์
(Adjectival Noun) ประกอบนามด้วยกันได้
โดยให้วางไว้หน้านามนั้น เช่น
The football match for today is very interesting.
การแข่งขันฟุตบอลสำหรับวันนี้น่าสนใจมาก
Sompong is waiting for you at the bus stop.
สมพงษ์กำลังรอคุณอยู่ที่หยุดรถประจำทาง
There is my relative living in New York City.
มีญาติของฉันคนหนึ่งอาศัยอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค
(football, bus และ New York เป็นคำนาม
แต่ในประโยคทั้ง 3 นี้ ทำหน้าที่ขยายนามหรือเป็นคุณศัพท์ของนาม match
(การแข่งขัน) stop (ที่หยุด, ที่จอด)
และ city (เมือง) ที่ตามหลัง)
ข้อสังเกต :
นามที่ทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ประกอบนามกับนามใด ให้เรียงไว้หน้านามนั้น
10.ทำหน้าที่เป็นกรรมซึ่งมีลักษณะและความหมายเดียวกันกริยาที่อยู่ข้างหน้า
(Cognate Object) เช่น
Dr. Boonsong died an accident death.
ดร.บุญส่ง ตายเพราะอุบัติเหตุ
Marisa dreamt a good dream last night.
เมื่อคืนนี้มาริสาฝันดี
She smiled a sweet smile.
หล่อนยิ้มหวาน
These boys laughed a merry laugh.
เด็กเหล่านี้หัวเราะอย่างมีความสุข
They ran a lively race.
พวกเขาวิ่งแข่งกันอย่างสนุกสนาน
Ann sleft the sleep of the just.
แอนหลับฝันถึงความยุติธรรม
(คำว่า death, dream, smile, laugh,
race, sleep ในประโยคเหล่านี้เป็นนาม คืออาการนาม (Abstract
Noun) แต่นำมาใช้ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยาที่มีลักษณะและความหมายเดียวกัน)
11. ทำ
หน้าที่เป็นประธานอิสระของกลุ่มคำที่เป็นส่วนของกริยาวลี (Absolute Subject
of Participial Phrase)
แล้วไปทำหน้าที่ขยาย Subject ในประโยค
Main Clause อีกทีหนึ่ง เช่น
Dinner being over, we all sat and talked.
เมื่อ (ทาน) อาหารมื้อเย็นเสร็จแล้ว
พวกเราทุกคนก็นั่งคุยกัน
(Dinner เป็นประธานอิสระของกลุ่มคำ being over และ
Dinner being over ไปขยาย we ในประโยค
Main Clause)
Pongsak having been elected the chairman of the parliment,
I am sure the meeting will have outstanding results.
เมื่อคุณพงษ์ศักดิ์ได้รับเลือกให้เป็นประธานรัฐสภา
ผมก็แน่ใจได้ว่า การประชุมจะมีผลเป็นที่น่าพอใจ (ดีเด่นขึ้น)
(Pongsak เป็นคำนาม นำมาใช้เป็นประธานอิสระ (Absolute
Subject) ของกลุ่มคำ Participle Phrase)
The sun having set, the farmers walked home.
เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ชาวนาทั้งหลายก็กลับบ้าน
(sun เป็นคำนามนำมาใช้เป็นประธานอิสระ ของกลุ่มคำ Participle
Phrase)
ตัวประธานของประโยค Main Clause กับประธานอิสระ
(Absolute Subject) ของกลุ่มคำ Participle Phrase นั้นต้องเป็นคนละคนกัน
และคำที่จะมาเป็นประธานอิสระนั้นเป็นสรรพนาม (Pronoun) ก็ได้
ไม่จำเป็นต้องเป็นแต่นามอย่างเดียว เช่น
He having finished his work, we left the office together.
เมื่อเขาทำงานเสร็จแล้ว
เราก็ออกจากสำนักงานไปด้วยกัน
ขอบคุณที่มา : http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=31571
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น