1. Affirmative Statements คือ ประโยคบอกเล่า ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานคือ Subject + Verb + Complement / Object ดังนี้
1.1 Subject + Verb เช่น
|
1.2 Subject + Verb + Complement เช่น
They are dogs. พวกมันคือหมา |
|
1.3 Subject + Verb + Object เช่น
Varee plays a doll. วารีเล่นตุ๊กตา |
|
**ข้อสังเกต**
ก. หลัง Verb ‘to be’ มักจะตามด้วย complement ซึ่งอาจจะเป็นคำคุณศัพท์นาม หรือสรรพนามก็ได้ ตัวอย่างในตาราง
Subject
|
Verb
|
Complement
|
Manop They This |
is are is
| handsome doctors mine (mine = my pocket) |
|
คำกริยาบางตัวก็ให้ความหมายทำนองเดียวกับ verb ‘ to be ‘ คำกริยาเหล่านี้อาจจะตามด้วยคำคุณศัพท์ก็ได้ ได้แก่ appear, become, feel, look, seem, smell, sound, taste |
ตัวอย่าง
Malee feels tired. มาลีรู้สึกเหนื่อย |
Virote looks happy. ท่าทางวิโรจน์มีความสุข |
They became rich. พวกเขารวย |
หลัง become อาจจะตามด้วยนามหรือสรรพนามก็ได้ ตัวอย่าง
Wilai became a doctor. วิไลเป็นหมอ |
This car will become ours. รถยนต์คันนี้จะเป็นของเรา |
|
|
|
ข. กริยาอื่นนอกเหนือจาก verb ‘to be ‘ มักจะตามด้วยกรรม (object)
ตัวอย่าง
Wichai collects the old things. วิชัยสะสมของเก่า |
We saw them. พวกเราเห็นพวกเขา |
|
ค.
กริยาบางตัวตามด้วยกรรม 2 ตัว คือ กรรมรอง (indirect object) และกรรมตรง
(direct object) ได้แก่ bring, get, give, hand, leave, offer, pass, send,
take, tell, read, write, teach, buy, sell, fix, make หากกรรม 2 ตัวอยู่ติดกัน จะวาง Indirect Object + Direct Object ตามลำดับ
ตัวอย่าง
| Inddirect Object | Direct Object |
I gave | her | the book. |
Sura bought | Umikao | a ring |
|
แต่ถ้าวาง Indirect Object ไว้หลัง Direct Object จะวางโครงสร้างเป็น Direct Object + to / for + Indirect Object
ตัวอย่าง
| Direct Object | To / For | Indirect Object |
I gave | the book | to | her |
Sura bought | a ring | for | Umikao |
|
กริยา Deliver, describe, explain, return, say มักจะใช้ตามรูปแบบโครงสร้างข้างล่างคือ Direct Object + to / for + Indirect Object เช่น
The teacher explained the theory to us. ครูอธิบายทฤษฎีแก่พวกเรา |
Anong described her house to me. อนงค์บรรยายลักษณะบ้านเธอแก่ฉัน |
|
ง. ประโยคที่มี there is, there are, จะวาง there is / there are หน้าประธานตัวจริง ตัวอย่าง
There is a boy in this room. มีเด็กคนหนึ่ง |
There are many people there. มีคนจำนวนมากที่นั่น |
|
|
2. Negative Statements
คือ ประโยคปฏิเสธ สังเกตได้ชัดคือมี not มีหลักการพื้นฐานในการสร้างประโยคปฏิเสธ 2 ประการ คือ
2.1
ในรูป Simple present และ Simple past ที่มี verb 'to be' ให้วาง not หลัง
verb ‘to be’ เช่น is not (หรือ isn’t) are not (หรือ aren’t) was not
(หรือ wasn’t) were not (หรือ weren’t) และ am not (ไม่มีรูปย่อ) ตัวอย่าง
She is I was They are |
not
| a student. a student. students. |
|
ในกรณีที่มีกริยาช่วยอื่น เช่น will, would, shall, should, can, could,
may, might, has, have, must เวลาเป็นรูปปฏิเสธให้วาง not
หลังกริยาช่วยเหล่านี้ ตัวอย่าง
She has not arrived yet. หล่อนยังมาไม่ถึงเลย |
I can’t come. ฉันมาไม่ได้ |
|
2.2
หากประโยคบอกเล่าไม่มีกริยาช่วย ให้ใช้ verb 'to do' กล่าวคือหากเป็น
Simple Present ใช้ do, does แต่ถ้าเป็น Past Tense ใช้ did ตามด้วย not
คือ do not (หรือ don’t) , does not (หรือ doesn’t) , did not (หรือ
didn’t) ตัวอย่าง
I He It They | do not does not does not did not | like hot drink |
|
|
3. Affirmative questions
คือ การเปลี่ยนประโยคบอกเล่าให้เป็นคำถาม มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
3.1 ในรูปประโยคแบบ Simple Present และ Past Tense ที่มี verb 'to be' ให้วาง verb ‘to be‘ หน้าประธาน ตัวอย่าง
บอกเล่า | : She is a student. |
คำถาม | : Is she a student? หล่อนเป็นนักเรียนใช่ไหม |
บอกเล่า | : She was a teacher. |
คำถาม | : Was she a teacher? เธอเป็นครูใช่ไหม |
|
ในกรณีที่มีกริยาช่วยอื่น เช่น will, would, shall, should, can, could,
may, might, has, have, must ให้วางกริยาช่วยเหล่านี้ไว้หน้าประธาน ตัวอย่าง
บอกเล่า | : He will be a doctor. |
คำถาม | : Will he be a doctor? เขาจะเป็นหมอใช่ไหม |
บอกเล่า | : She can drive a bicycle. |
คำถาม | : Can she drive a bicycle? เขาสามารถขี่จักรยานได้ไหม |
|
3.2
หากประโยคบอกเล่าไม่มีกริยาช่วย ให้ใช้ verb ‘ to do ‘ มาช่วย
เพื่อสร้างประโยคคำถามโดยเอา verb ‘ to do’ หรือ do , does หรือ did
วางหน้าประธานของประโยค ตัวอย่าง
บอกเล่า | :He drives a car. |
คำถาม | :Does he drive a car? เขาขับรถยนต์หรือเปล่า |
บอกเล่า | :She used to be a nurse. |
คำถาม | :Did she use to be a nurse? หล่อนเคยเป็นพยาบาลหรือเปล่า |
|
การตอบคำถามแบบ Affirmative questions คือตอบ Yes / No ทั้งแบบตอบสั้นหรือยาว โดยปกติในการสนทนากันมักจะตอบสั้น
ตัวอย่าง
คำถาม | ตอบยาว | ตอบสั้น |
Is he a driver? | Yes, he’s a driver. No, he isn’t a driver. | Yes, he is. No, he isn’t |
Can you drive a car? | Yes, I can drive a car. No, I can’t drive a car. | Yes, I can. No, I can’t |
Does she drive a car? | Yes, she drives a car. No, she doesn’t drive a car. | Yes, she does. No, she doesn’t |
|
|
4. Negative questions
คือ การสร้างประโยคคำถามจากประโยคปฏิเสธ รูปปฏิเสธที่มีกริยาช่วย + not
อาจจะย่อเป็น isn’t, aren’t หรืออื่น ๆ แล้ววางหน้าประธานก็ได้
หรือวางกริยาช่วย + ประธาน + not ก็ได้เช่นกัน ตัวอย่าง
| ปฏิเสธ | :She is not a student. |
| คำถาม | :Is she not a student? |
|
| :Isn’t she a student? หล่อนไม่ใช่นักเรียนใช่ไหม |
| ปฏิเสธ | :He does not like coffee. |
| คำถาม | Does he not like coffee? |
|
| Doesn’t he like coffee? เขาไม่ชอบกาแฟใช่ไหม |
การตอบ (Responses) ก็อาจจะเป็น Yes / No ก็ได้แล้วแต่สภาพการณ์เป็นจริงอย่างไรก็ตอบอย่างนั้น ตัวอย่าง |
| คำถาม | :Isn’t he a student? เขาไม่ใช่นักเรียนใช่ไหม |
| ตอบ | :Yes. ใช่ |
|
| :No. ไม่ใช่ |
|
5. Questions introduced by interrogatives Interrogatives คือ คำที่แสดงคำถามประเภท Wh-words เช่น Who, What, Which, Whoes, Whom, When,Where, Why, How การสร้างประโยคคำถามโดยมี Interrogatives เหล่านี้ กระทำโดยวาง Interrogatives เหล่านี้ไว้หน้าประโยคคำถามดังนี้
5.1 Who, What, Which, Whose เป็นประธานของประโยคคำถาม สำหรับ What, Which, และ Whose อาจจะมีนามตามหลัง Who ใช้เพื่อหมายถึงบุคคล What กับสิ่งของ Which และ Whose กับบุคคลหรือสิ่งของ What อาจจะวางอยู่หน้านามเพื่อหมายถึงบุคคลหรือสิ่งของ |
5.2 หลัง When, Where, Why และ How การเรียงลำดับคำถามก็เป็นปกติ คือ ตามด้วยกริยาช่วยและประธาน
When | :ใช้ถามเวลา |
Where | :ถามสถานที่ |
Why | :ถามเหตุผล |
How | :ถามวิธีการ |
How ยังใช้กับคำ อาทิ much, many, far, long โดยมีหลักการคือ |
How much | :ใช้ถามจำนวนของนามนับไม่ได้ |
How many | :ถามจำนวนนามนับได้ |
How far | :ถามระยะทาง |
How long | :ถามระยะเวลา |
|
|
6. Questions attached to statements คือ คำถามที่ต่อท้ายประโยคธรรมดา หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ Tag questions หรือบางทีเรียก Tail questions หลักการสร้างคำถามแบบ Tag questions ก็ คือ
Statement | Tag |
บอกเล่า ปฏิเสธ | ปฏิเสธ บอกเล่า |
ตัวอย่าง
Statements | Tag |
Anong is here, He can’t swim very well, It runs very slowly, You will help us, The news proved exciting, | isn’t she? can he? doesn’t it? won’t you? didn’t it? |
**ข้อสังเกตุ **
หากใน statements มีกริยาช่วยอยู่ ให้ใช้กริยาช่วยนั้นทำรูป tag
และมีสรรพนามตาม แต่ถ้าหากไม่มีกริยาช่วย ให้ทำรูป tag โดยเอา verb ‘to do’
มาช่วย และตามด้วยสรรพนาม
ในเรื่อง tag questions นี้มีหลักเกณฑ์ที่ควรทราบดังนี้
6.1
statement ที่มีประธานจำพวก everybody, everyone, everything, somebody,
someone, something, nobody, no one, nothing, anybody, anyone, anything
ใน tag จะใช้ “กริยาช่วย + they ?” ตัวอย่าง
Anybody can go out, can’t they ? |
No one is waiting inside, are they |
|
6.2
statement ที่มีคำหรือข้อความเชิงปฏิเสธ อาทิ seldom, rarely, never,
scarcely, barely, hardly, little, few, only ใน tag จะใช้
“กริยาช่วยรูปบอกเล่า + สรรพนาม ? “ ตัวอย่าง
Manee scarcely seems to care, does she ? |
|
6.3
statement ที่ ขึ้นต้นด้วย Les’s (=Let us) ใน tag จะใช้ shall we?
แต่ถ้าขึ้นต้นด้วย Let me / him / her ใน tag จะใช้ will you? ตัวอย่าง
Let’s go to the zoo, shall we ? |
|
6.4 statement ที่เป็นคำสั่ง (commands) คือ มีคำกริยาขึ้นต้นประโยคโดยไม่มีคำว่า please รวมอยู่ด้วย ใน tag จะใช้ will you ? ตัวอย่าง
Stop playing in class, will you ? |
|
6.5
statement ที่มี 2 clauses คือมีทั้ง main clause (ประโยคหลัก) และ
subordinate clause (อนุประโยค) ในtag จะใช้รูปตามกริยา ใน main clause ตัวอย่าง
She said she wouldn’t reveal my secret, would she ? |
|
6.6
statement ที่มีรูปกริยาเป็นรูปย่อ เช่น ‘d better (=had better)’d rather
(=would rather) หรือ ‘d go (=would go) ใน tag จะต้องใช้ให้ถูกต้อง ตัวอย่าง
You’d better tell the truth, hadn’t you ? |
|
|
|
Responses to tag question การตอบคำถามที่เป็น tag มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
ก. ถ้า statement เป็นคำบอกเล่า คำตอบน่าจะเป็น Yes แต่ถ้าหากไม่เห็นด้วยก็อาจจะตอบ No ก็ได้ ตัวอย่าง
A | : Suree is here, isn’t she ? |
B | : Yes, she is. |
A | : Suree is here, isn’t she ? |
B | : No, she isn’t |
|
ข. ถ้า statement เป็นปฏิเสธ คำตอบน่าจะเป็น No แต่ถ้าไม่เห็นด้วยก็อาจจะตอบ Yes ก็ได้ ตัวอย่าง
A | : Suree isn’t here, is she ? |
B | : No, she isn’t หรือ |
A | : Suree isn’t here, is she ? |
B | : Yes, she is. |
|
|
7. Requests and Commands Requests คือ ประโยคขอร้อง Commands คือ ประโยคคำสั่งในตัวอย่างต่อไปนี้มีทั้งแบบประโยคคำสั่ง พร้อมทั้งคำตอบ
ประโยคข้อร้อง / คำสั่ง | คำตอบ |
Come here. (คำสั่ง) | Wait a minute. |
Please sit down. (ขอร้อง) | Thank you. |
Close the door, please. (ขอร้อง) | Sorry, I’m busy. |
Hand in your paper, please. (ขอร้อง) | I haven’t finished yet. |
Let,s go now. | All right. |
**หมายเหตุ ประโยคขอร้องมักมี คำว่า please หรือมี คำว่า Let’s รวมอยู่ |
ประโยคขอร้องและคำสั่ง พบได้บ่อยตามป้ายประกาศต่าง ๆ โดย ทั่วไปจะขึ้นต้นด้วยกริยาช่องที่หนึ่ง ในกรณีสั่งให้ทำ และจะขึ้นต้นด้วย Do not + V1 หรือ Don’t + V1 ในกรณีสั่งห้าม ตัวอย่าง
DO NOT ENTER. | = ห้ามเข้า |
KEEP OFF THE GRASS. | = ห้ามเดินบนสนามหญ้า |
LISTEN | = ฟัง |
STOP | = หยุด |
LOOK | = ดู |
**ข้อสังเกต** |
DON’T SMOKE | = ห้ามสูบบุหรี่ |
NO SMOKING |
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น